วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

สมาชิกกลุ่ม


Angel's Team

(Information Technology)


งานกลุ่ม บทที่2 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล


รายชื่อสมาชิก Sec.04


1) นาย  จารุเวศ  ปาต๊ะ                    รหัสนักศึกษา 58143402
2)  นาย ทิวากร ชิวปรีชา                  รหัสนักศึกษา 58143403
3) นางสาว  อนงค์ลักษณ์ วงค์อ้าย  รหัสนักศึกษา 58143414
4) นางสาว  จุฑามาศ   ไชยวงศ์      รหัสนักศึกษา 58143416
5) นางสาว เมทิกา   มีบุญ               รหัสนักศึกษา 58143424
6) นาย  ศิวดล   เตปิน                     รหัสนักศึกษา 58143427

นำเสนอ
อาจาร์ย ดร.ภัทราพร  พรหมคำตัน

รายวิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่




อุปกรณ์อื่นๆ (other)

อุปกรณ์อื่นๆ



\
1.PCI คืออะไรPCI ย่อมาจาก Peripheral Component Interconnection คือช่องเสียบอุปกรณ์ ต่าง ๆ อาทิ การ์ดเสียง การ์ด Network โมเด็มแบบ Internal แม้กระทั่งการ์จอ เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานควบคู่ไปกับซีพียูได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง PCI มีความสามารถที่จะส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยมีแบนด์วิดท์ (Band width) อยู่ที่ 32 บิต และ 64 บิต โดย PCI แบบ 64 บิตนี้เราจะเรียกว่า PCI-X โดยความเร็วในการส่งข้อมูลของ บัส 32 บิตนั้นสามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 132 MB/Sec แต่ถ้าเป็นบัสขนาด 64 บิต เราจะได้ความเร็วอยู่ที่ 264MB/Sec ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่เกี่ยวกับกราฟฟิกที่ต้องการความละเอียดสูง





ผู้ที่คิดค้นและพัฒนา PCI (Peripheral Component Interconnection) ก็คือ INTEL ซึ่งได้มีการพัฒนา PCI มาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันนี้มีการพัฒนามาแล้ว 3 รุ่นด้วยกันคือ

1. PCI 2.0 ทำงานที่ความเร็ว 30-33MHz

2. PCI 2.1 สนับสนุนการทำงานที่ความเร็ว 66MHz

3. PCI 2.2 สนับสนุน slot ได้สูงถึง 5 slot และยังรองรับ PCI card แบบ Bus Master ซึ่งเป็นการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงและหน่วยความจำโดยตรงนั่นเอง

ส่วน PCI Express ก็เป็นการพัฒนาเพิ่มเติมจาก PCI เพื่อมาทดแทนการใช้งาน AGP และ PCI BUS แบบเดิม โดยความสามารถของ PCI Express นั้นจะส่งข้อมูลได้เร็วถึง 250 MB/sec และความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ PCI Express ก็คือการส่งข้อมูลแบบ 2 ทางพร้อมกัน (Full-Duplex)สูงถึง 500 MB/sec ซึ่งจะแตกต่างจากการส่งของ PCI แบบเดิมที่จะส่งข้อมูลเพียงทางเดียวเท่านั้น

ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/pci/



2.การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbpsซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน






ที่มา https://sites.google.com/site/chatwimol41023/home/kard-kherux-khay-network-adapter-hrux-kard-lan



3. HDMI คืออะไร

HDMI เป็นระบบการเชื่อมต่อ (สายสัญญาณและช่องต่อ) ภาพและเสียงแบบใหม่ครับ ย่อมาจากคำว่า

High Definition Multimedia Interface โดย HDMI จะเชื่อมต่อทั้งสัญญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอลไว้ในสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ไม่ต้องต่อหลายสายหลายเส้นให้ยุ่งยาก ให้ความคมชัดของภาพ มีความละเอียด และให้เสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทุกวันนี้ HDMI ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายกับ พลาสม่าทีวี แอลซีดีทีวี TrueVisions HD Home Theatre เครื่องเล่นดีวีดี ฯลฯ

แล้ว HDMI มันดีกว่าสายประเภทอื่นๆอย่างไร??? ง่ายๆเลยนะครับ ผมจะเรียงลำดับคุณภาพของสายสัญญาณจากคุณภาพ ต่ำไปหา สูง ดังนี้ครับ

1. สาย RF ที่ต่อจากสายอากาศทีวีบ้านธรรมดานี่แหละครับ ส่งสัญญาณภาพและเสียง

2. สาย Composite หรือ ที่เราเรียกว่าสาย AV นั้นเอง(ไอ้ขาวเหลือแดงนี่แหละครับ) ดีกว่า RF ขึ้นมาหน่อย คือแยกสัญญาณภาพเป็นหนึ่งสาย (เหลือง) และสัญญาณเสียงสองสาย (ขาว แดง) ช่วงวิดีโอ บูมๆ สายขาวเหลิองแดงนี่น่าจะถือว่าดีที่สุดในสมัยนั้น

3. สาย S-video จะดีกว่า AV ขาวเหลืองแดงมาอีกระดับนึงเนื่องจากจะสามารถแยกสัญญาณ สี และ แสง ได้

4. สาย Component เกิดขึ้นมาในยุคดีวีดีฟีเวอร์ครับ มีสามสายครับ เป็นสายสัญญาณแยกสี RGB (แดง เขียว ฟ้า) ซึ่งให้ความคมชัดในระดับสูงมาก โดยเฉพาะเรื่องสีสัน สายแพงๆ นี่หลายพันเลย




5.ส่วนสายที่จัดได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในปัจจุบันก็คือคือสาย HDMI จะเชื่อมต่อทั้งสัญญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอลแบบไว้ในสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ที่กล่าวถึงมาข้างต้นนี่เอง


ที่มา http://www.newsatellitethailand.in.th/webboard_1336882_44043_th?lang=th
4. BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี บลูทูธ เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบไร้สายที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจาก เทคโนโลยี บลูทูธ มีราคาถูก ใช้พลังงานน้อย และใช้เทคโนโลยี short – range ซึ่งในอนาคต จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนา เพื่อนำไปสู่การแทนที่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สาย เคเบิล เช่น Headset สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ฺิิิ เทคโนโลยีการเชื่อมโยงหรือการสื่อสารแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้น เป็นเทคโนโลยีของอินเตอร์เฟซทางคลื่นวิทยุ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสื่อสารระยะใกล้ที่ปลอดภัยผ่านช่องสัญญาณความถี่ 2.4 Ghz โดยที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดของการใช้สายเคเบิลในการเชื่อมโยงโดยมีความเร็วในการเชื่อมโยงสูงสุดที่ 1 mbp ระยะครอบคลุม 10 เมตร เทคโนโลยีการส่งคลื่นวิทยุของบลูทูธจะใช้การกระโดดเปลี่ยนความถี่ (Frequency hop) เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะที่จะใช้กับการส่งคลื่นวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำและราคาถูก โดยจะแบ่งออกเป็นหลายช่องความถึ่ขนาดเล็ก ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนช่องความถึ่ที่ไม่แน่นอนทำให้สามารถหลีกหนีสัญญานรบกวนที่เข้ามาแทรกแซงได้ ซึ่งอุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีบลูทูธ ต้องผ่านการทดสอบจาก Bluetooth SIG (Special Interest Group) เสียก่อนเพื่อยืนยันว่ามันสามารถที่จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์บลูทูธตัวอื่นๆ และอินเตอร์เน็ตได้



ที่มา https://sites.google.com/site/kruchatchawalthoen/blu-thuth-khux-xari

5.แอร์คาร์ด (AirCard) คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Labtop) ของเราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตไปแล้วยังสามารถใช้โทรศัพท์ โทร.เข้า-ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cellsite เดียวกัน หรือทำหน้าที่เป็นแฟ็กซ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะนั่งรถ ลงเรือ หรืออยู่ที่ไหนขอมีเพียงสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ใช้งานได้ทั้งนั้น

ความแตกต่างระหว่าง AirCard กับ ระบบ Wi-Fi

Wi-Fi คือคุณสมบัติอันหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตใดๆ ก็ได้แบบไร้สาย (Wireless LAN) ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตรจากตัวแม่ข่ายของ Wi-Fiนั้นๆ หากไม่มีตัวแม่ข่ายการสื่อสารข้อมูลก็จะทำไม่ได้

AirCard คือ โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โลกอินเทอร์ เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cellsite ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

ที่มา http://smartcompz.blogspot.com/2011/04/blog-post_2763.html


6. PDA คืออะไร

PDA ย่อมาจาก Personal Digital Assistant คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก , เก็บข้อมูล , เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้ สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลยทีเดียว เช่น การทำ เอกสาร Word, Excel หรือแม้กระทั่งการใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet ) ในการเล่นเว็บ หรือการรับ-ส่ง E-Mail และอีกอย่างที่สำคัญคือสามารถทำงานด้านมัลติมีเดีย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ได้อีกด้วย

PDA นั้นสามารถแยกออกมาได้อีกหลายประเภท ตามลักษณะของการใช้งานและระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่อง PDA นั้นๆ ซึ่งหลักๆที่เรารู้จักกันก็จะมี PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC นั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ยังมี PDA phone ซึ่งเป็น PDA ที่สามารถใช้งานเป็นโทรศัพท์ได้ด้วย

สวิตซ์ (Switch)


สวิตซ์ (Switch)


     สวิตซ์เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาการต่อจากฮับอีกทีหนึ่งมีความสามารถมากกว่า Hub โดยการทำงานของสวิตซ์จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายข้อมูลไปยังทุกพอร์ตเหมือนอย่างฮับ ทำให้ในสวิตซ์ไม่มีปัญหาการชนของข้อมูล สวิตซ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link Layer คือจะรับผิดชอบในการเชื่อมโยงของข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของการติดต่อจากโหนดหนึ่งไปอีกโหนดหนึ่งและความสมบูรณ์ของการรับส่งข้อมูล สำหรับในชั้นเชื่อมโยงข้อมูลนั่นจะทำการแบ่งข้อมูลระดับบิตที่ได้รับจากชั้น Physical Layer เป็นข้อมูลชนิดที่เรียกว่า เฟรม ก่อนจะส่งไปยังชั้นถัดไป ก็คือ Network Layer

หลักการทำงานของ Switch

หลักการทำงานของ Switch เหมือนการทำงานขอ Hub เพียงแต่ว่าทำงานได้เร็วกว่าและยังมีจำนวนพอร์ตที่มากกว่า

Hub กับ SWITCH แตกต่างกันอย่างไร HUB กับ SWITCH นั้นจะทำหน้าที่คล้าย กันเพียงแต่ HUB นั้นเวลาส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ broadcast กระจายไปทุกเครื่องแต่ถ้าเป็น switch นั้น จะดูว่าข้อมูลนี่เป็น ของเครื่องไหนแล้วค่อยส่งไปยังเครื่องนั้น ดังนั้นHUB จึงสามารถ LAN ได้มากกว่านอกจากนี้ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ต่างกันคือ speed HUB คือspeed / N เครื่องเช่น LAN 100 Mbps 10 เครื่อง ทุกเครื่องได้แค่ 10 Mpbsส่วน speed switch นั้น Lan 100 mpbs ทุกเครื่องได้ 100 mbps




รูปแสดงลักษณะของ Switch ยี่ห้อ 3COM


ที่มา https://yyweb123.wordpress.com/2011/09/03/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B9%8C-switch/



ฮับ (Hub)



ฮับ(Hub)



ฮับ คือ เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกันฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย เรียกว่าฮับตกกระป๋อ โดยทั่วไปจะมีลักษณเหมือนกล่องสีเหลี่ยมแต่แบน มีความสูงประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วแต่รุ่น มีช่องเล็กๆ เอาไว้เสียบสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์ มีหลายรุ่น เช่น Hub 4 Ports, 8 Ports, 16 Ports, 24 Ports หรือ 48 Ports เป็นต้น หน้าตารูปร่างของฮับจะเหมือนกัน Switch ดังนั้นการเลือกซือต้องระวังให้ดี

ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ

• ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS

• ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS

• บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS

MBPS ย่อมาจาก MegaBit Per Second (เมกกะบิตต่อวินาที)

hub นั้นทำงานในระดับ layer 1 ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ media หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทางไฟฟ้า



แอ็คเซสพอยต์ (AP)



แอ็คเซสพอยต์ (ชั้น Physical Layer)




     Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ

- ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
- ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
- ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน



ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP
โหมดการทำงานของ Access Point (AP)


โมเด็ม (modem)


โมเด็ม (ชั้น Physical Layer)


       โมเด็ม (อังกฤษ: modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กล้ำสัญญาณ หรือปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูปสัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล(อังกฤษ: digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ baseband เป็นสัญญาณ passband และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และง่ายต่อการประมวลผล

     อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัลและสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ซึ่งใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่นเปลี่ยนสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณลูกข่ายหรือส่งจากลูกข่ายกลับไปยังแม่ข่าย

    ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น




ที่มาข้อมูล 

รีพีตเตอร์ (Repeater)


 รีพีทเตอร์


  รีพีทเตอร์สำหรับเครือข่ายวิทยุเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยขยายเขตการติดต่อ โดยทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณอ่อนที่ส่งเข้ามาและทำการส่งออกไปด้วยกำลังที่ สูงขึ้น ระบบที่ใช้กันมากคือการส่งออกทันทีด้วยความถี่ต่างกัน(Duplex Repeater) ในระบบรีพีทเตอร์ย่าน VHF ของวิทยุสมัครเล่นนั้น ความถี่ที่รับจะใช้ความถี่ต่ำกว่าความถี่ส่งอยู่ 600 kHz (-600 kHz) แต่ในรีพีทเตอร์บางแบบจะใช้ความถี่ขาเข้าและขาออกด้วยความถี่เดียว(Simplex Repeater) กัน แต่หน่วงเวลาเพื่อรับข้อความขาเข้าจนจบแล้วจึงทำการส่งออกไป
  ระบบรีพีทเตอร์มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้การติดต่อในกลุ่มนักวิทยุสมัคร เล่นทำได้ง่ายขึ้นและระยะทางไกลมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบสาบอากาศประจำสถานีที่สูงมากนัก โดยเฉพาะช่วงเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินระบบรีพีทเตอร์จะมีบทบาทอย่างโดด เด่นทุกครั้ง รีพีทเตอร์บางกลุ่มในสหรัฐอเมริกาจะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการ ติดต่อได้ตลอดเส้นทางหลวงของประเทศทั้งหมด
  การใช้รีพีทเตอร์อย่างเหมาะสมนั้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบบริการรีพีทเตอร์มิได้ออกแบบมาให้ใช้งานแทนการติดต่อโดยตรงเหมือนระบบ Simplex (รับและส่งความถี่เดียวกัน)แต่การใช้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพนั้น การติดต่อผ่านรีพีทเตอร์ให้สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ทำตัวเป็นผู้ยึดครองรีพีทเตอร์เพื่อใช้เฉพาะกลุ่มของตัวเองเป็นที่น่าเห็นใจว่ามิใช่ว่านักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะสามารถติดตั้งสายอากาศ ให้ติดต่อโดยตรงในระยะไกลได้ทั้งหมด การใช้รีพีทเตอร์สำหรับบางคนจะเป็นหนทางเดียวที่จะติดต่อกับสถานีอื่นๆได้ ถึงกระนั้นก็ต้องมีสามัญสำนึกอยู่เสมอว่ารีพีทเตอร์เป็นบริการสาธารณที่ต้อง เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ด้วย



แหล่งที่มารูปภาพ

https://www.google.co.th/search?q=Bridge&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi2rLXop5vPAhUKp5QKHTzXDaYQ_AUICCgB&biw=1366&bih=657#tbm=isch&q=%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C&imgrc=b6v2EMLQdlssMM%3A


รีพีตเตอร์ (repeater)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ใน OSI Model มี หน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ ข้อจำกัด คือทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้มาเท่านั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายซึ่งอาศัยวิธีการ access ที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet กับ Token Ring และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย

รีพีตเตอร์ (repeater) เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณ ( Repeater) เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าที่รับส่งกันในสาย Lan สามารถส่งไกลขึ้นเท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้องการต่อสาย Lan ให้ได้ไกลเกินกว่ามาตรฐานปกติ แต่ไม่ทำหน้าที่ช่วยจัดการจราจร Lan สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายโดยใช้สายสัญญาณต่างชนิดกันได้



แหล่งที่มาข้อมูล
https://sites.google.com/site/39srayya45sathida/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-5/ri-phit-texr-khux-xari
https://sites.google.com/site/un42509/ri-phit-texr



บริดจ์ (Bridge) 



บริดจ์ (Bridge) 

    บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ.1980บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่ายการติดต่อภายใน เครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย(Broadcasting)ดังนั้นจึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกัน เท่านั้นการรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัว รับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่ายบริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้น ส่งให้บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูลระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสาร ภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)

   บริดจ์ เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segments)เข้าด้วยกันทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LANออกไปได้เรื่อยๆโดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนักเนื่องจากการ ติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่านไปรบกวนการจราจร ของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ Data Link Layerจึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ Physical และ Data Link ได้ เช่น ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น





การทำงานของ Bridge

         หลักการทำงานของ Bridge จะดูแลข้อมูลที่ส่งโดยพิจารณาหมายเลขของเครื่อง หรือตามศัพท์ทางเครือข่าย คือ Media Access Control (MAC Address หรือ Station Address) Bridge จะทำงานใน Data Link Layer หรือ Layer ที่ 2 ของ OSI โมเดล คือ มองข้อมูลที่รับส่งกัน เป็น Packet แล้วเท่านั้น โดยไม่ต้องสนใจโปรโตคอลสื่อสารที่ใช้ ไม่ว่าจะเป็น IP หรือ IPX หรือโปรโตคอลใด ๆ หรือก็คือ ไม่ว่าจะเป็น Packet อะไรส่งออกมาในเครือข่าย Bridge จะดูเฉพาะ Address ปลายทางแล้วถ้าพบว่าเป็นเครื่องที่อยู่คนละฟากกันก็จะส่งต่อให้เท่านั้น ไม่สนใจว่าการส่งให้ถึงเครื่อง ที่เป็นผู้รับปลายทางนั้นอาจทำได้หลายเส้นทางต่าง ๆ กัน
ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของ Bridge คือในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนึ่ง แต่ไม่ทราบ Station Address จะมีการส่งข้อมูล พิเศษที่เรียกว่า Broadcast Frame เข้าไปในเครือข่าย เมื่อข้อมูลนั้นผ่านมาที่ Bridge ก็จะมีการส่งข้อมูล Broadcast นี้ต่อไปยังทุกเครือข่ายย่อยทั้งหมดที่ ตนอยู่ โดยไม่มีการเลือกหรือกลั่นกรองใด ๆ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายทั้งหมดถูกขัดจังหวะเพื่อรับข้อมูลดัง กล่าว ดังนั้นถ้าข้อมูลที่ Broadcast มากก็จะ ทำให้เครือข่ายมีปัญหาเรื่องปริมาณข้อมูลหนาแน่น และความเร็วในการทำงานลดลงได้



แหล่งที่มาของภาพ

https://www.google.co.th/search?q=Bridge&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi2rLXop5vPAhUKp5QKHTzXDaYQ_AUICCgB&biw=1366&bih=657#tbm=isch&q=bridge+network&imgrc=E-0vD_VJTpaGPM%3A

แหล่งที่มาข้อมูล บริดจ์


เราเตอร์ (Router)


Router


     การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปจะต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีการส่ง Packet ข้อมูลที่แตกต่างกันออกไปซึ่ง packet เหล่านี้จะมีลักษณะที่จำเพาะ ด้วยเหตุนี้เองจึงต้องมีตัวกลางในการเชื่อมต่อเครือข่ายซึ่งอุปกรณ์นี้เราจะเรียกว่า เราเตอร์ (Router)

     ถ้าจะเปรียบเทียบเราเตอร์ (Router) เราคงเปรียบเทียบได้เหมือนกับถนนที่เป็นเส้นทางในการเดินทางของรถยนต์เพราะเราเตอร์ทำหน้าที่เหมือนกับถนนเมื่อข้อมูลวิ่งเข้ามาในเราเตอร์ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกวิเคราะห์และถูกส่งไปยังปลายทาง โดยเราเตอร์นั้นจะมีซอฟแวร์ในการควบคุมการทำงานอยู่ซึ่งเราเรียกซอฟแวร์นี้ว่า Internetwork Operating System (IOS) โดยเราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเราเตอร์ได้มากกว่า 1 เครื่องในเวลาเดียวกันซึ่งการทำงานแบบนี้จะเหมือนกับอุปกรณ์สวิตช์ (Switch) ที่มีความสามารถแจก IPได้ซึ่งเราเตอร์ก็สามารถแจก IP ได้เหมือนกัน ลักษณะของเราเตอร์จะเป็นตัวสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดไม่ใหญ่นัก ซึ่งดีไซน์ของเราเตอร์นั้นก็จะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตต้องการออกแบบให้มีดีไซน์แบบไหน แต่สิ่งที่ต้องมีเป็นมาตรฐานเลยก็คือช่อง Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว



เราเตอร์
การต่อพ่วงเราเตอร์ (Router)
ที่มาของรูป : http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/router/


เราเตอร์มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ในปัจจุบันเราเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการใช้งานมากยิ่งขึ้นซึ่งเมื่อก่อนถ้าจะใช้เราเตอร์ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเราจำเป็นต้องมี โมเด็มในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเสียก่อนแล้วค่อยต่อสายนำสัญญาณมาที่เราเตอร์ และเราเตอร์ก็จะส่งข้อมูลต่างๆให้กับคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องลูกข่าย ซึ่งเราสามารถแบ่งเราเตอร์ตามความสามารถได้เป็น 4 ชนิดด้วยกัน

1. เราเตอร์ (Router) เราเตอร์ชนิดนี้เป็นเราเตอร์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง การทำงานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อื่น ๆเสริมการทำงานด้วย แต่ข้อดีของเราเตอร์แบบนี้คือทำงานตามหน้าที่ได้อย่างเต็มที่และไม่ค่อยมีข้อผิดพลาดในการทำงาน

2. โมเด็มเราเตอร์ (Modem Router/ ADSL Modem) โมเด็มประเภทนี้จะเห็นอยู่ในท้องตลาดอย่างมาก เป็นการผนวกความสามารถของโมเด็มและเราเตอร์ไว้ด้วยกัน ซึ่งทำให้สะดวกสบายในการใช้งาน โดยโมเด็มเราเตอร์นี้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ด้วยตัวเอง และกระจายข้อมูลต่าง ๆไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการเชื่อมต่ออยู่ได้ในทันที ส่วนมากแล้วโมเด็มเราเตอร์จะมี Port LAN มาให้ 4 ช่องด้วยกันซึ่งเป็นพื้นฐานของอุปกรณ์ชนิดนี้

3. ไวร์เลสโมเด็มเราเตอร์ (Wireless ADSL Modem Router) เราเตอร์ชนิดนี้จะทำงานได้เหมือนกับโมเด็มเราเตอร์ทุกประการ เพียงแต่มีความสามารถในการปล่อยสัญญาณ wireless ให้กับอุปกรณ์ที่สามารถรับ wireless ได้ โดยพื้นฐานของอุปกรณ์ชนิดจะมี Port LAN 4 พอร์ต และมีเสาสัญญาณที่ใช้ในการกระจายสัญญาณไวไฟจำนวน 2 เสา Router ประเภทนี้ถือว่ามีความสะดวกสบายมากและในปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้งานกันมากในตลาด

4. ไวร์เลสเราเตอร์ (Wireless Router) เป็นเราเตอร์ที่ไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวเองเหมือนกับประเภทแรก แต่เราเตอร์ประเภทนี้สามารถกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ได้รับด้วยระบบ wireless ได้และยังกระจายสัญญาณผ่านสายนำสัญญาณจาก Port Lan ทั้ง 4 พอร์ตที่มีการติดตั้งมากับตัวอุปกรณ์ด้วย นอกจากจะเป็น wireless Router แล้วเราเตอร์ประเภทยังสามารถเป็น Access Point ได้อีกด้วย


เราเตอร์
เราเตอร์แบบใช้สาย



หลักการทำงานของเราเตอร์ (Router)

จากที่ได้อธิบายไว้แล้วในตอนต้นว่าเราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้หลายเครื่องในเวลาเดียวกันและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ โดยหน้าที่หลักของเราเตอร์นั้นก็คือการส่งข้อมูลในช่องทางที่ดีที่สุดให้กับปลายทางที่มีการระบุไว้ใน packet ข้อมูล โดยการทำงานของ Router จะใช้โปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX เป็นต้น

เมื่อมีการส่งข้อมูลให้กับเราเตอร์ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เราเตอร์ก็จะทำการตรวจส

ข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นข้อมูลที่ใช้โปรโตคอลระดับใด และเพื่อหาปลายทางที่ต้องการส่งข้อมูล เมื่อทำการตรวจสอบเสร็จเรียบร้อย เราเตอร์ก็จะส่งข้อมูลไปยังปลายทาง ซึ่งถือว่าจบกระบวนการทำงานของเราเตอร์

เราเตอร์


เราเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Router)

ที่มาของรูป
https://www.google.co.th/search?q=router+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&espv=2&biw=1024&bih=623&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiAl7Teq5vPAhWBopQKHecPAqoQ_AUICCgB#imgrc=b8xyWM1nsJlhaM%3A


ประโยชน์ของเราเตอร์ (Router)

  • เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่จัดการความเรียบร้อยของเครือข่ายและสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีความหลากหลายให้สามารถใช้งานรวมกันได้ซึ่งเราสามารถแบ่งประโยชน์ของเราเตอร์
  • เราเตอร์สามารถช่วยเพิ่มการใช้งานของระบบเครือข่ายได้ เพราะเราเตอร์หนึ่งตัวสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มากกว่า 1 เครื่องทำให้เราสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายได้มากตามลักษณะการใช้งาน
  • เราเตอร์ที่สามารถปล่อยสัญญาณไวไฟหรือไวท์เลซได้นั้นยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายนำสัญญาณและทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน นอกจากนั้นเราเตอร์ยังมีความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่าน wireless อีกด้วย
  • เราเตอร์บ้างรุ่นมีการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสมาให้ด้วยทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากนั้นเราเตอร์จะสามารถป้องกันข้อมูลที่มีการส่งผ่านเราเตอร์ได้

การส่งต่อ

สำหรับฟังก์ชันการส่งต่อแบบ Internet Protocol (IP) บริสุทธิ์ เราเตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อลดข้อมูลของสถานะภาพที่เกี่ยวข้องกับแต่ละแพ็คเก็ต วัตถุประสงค์หลักของเราเตอร์คือการเชื่อมต่อหลายเครือข่ายและส่งแพ็คเก็ตไปข้างหน้าปลายทางที่เครือข่ายของตัวเองหรือเครือข่ายอื่น เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ชั้น 3 เพราะว่าการตัดสินใจขั้นต้นในการส่งต่อจะขึ้นอยู่กับข้อมูลแพ็กเก็ต IP ในเลเยอร์3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ IP ปลายทาง กระบวนการนี้เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการเร้าติ้ง เมื่อแต่ละเราเตอร์ได้รับแพ็คเก็ต จะค้นหาในตารางเส้นทางเพื่อจับคู่ที่ดีที่สุดระหว่าง IP address ปลายทางของแพ็คเก็ตกับหนึ่งใน network addresses ในตารางเส้นทาง เมื่อจับคู่ได้แล้ว แพ็คเก็ตจะถูกห่อหุ้ม (encapsulated) ใน เฟรมการเชื่อมโยงข้อมูลชั้น 2 เพื่อส่งไปยังอินเตอร์เฟซขาออกของเราเตอร์ เราเตอร์ไม่ได้มองเข้าไปในเนื้อหาของข้อมูลที่แท้จริงว่าแพ็คเก็ตขนส่งอะไรมา เพียงแต่ตัดสินใจส่งต่อที่ addressesชั้น 3 รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ในส่วนหัว เช่นคุณภาพของบริการ (QoS) เมื่อแพ็คเก็ตถูกส่งต่อไปแล้ว เราเตอร์ไม่เก็บข้อมูลประวัติเกี่ยวกับแพ็คเก็ต แต่เก็บกิจกรรมการส่งรวบรวมเป็นข้อมูลทางสถิติ, ถ้าถูกกำหนดค่าไว้ให้เก็บการตัดสินใจในการส่งต่อสามารถทำได้บนชั้นอื่นนอกจากชั้น 3. ฟังก์ชันที่การส่งต่อขึ้นอยู่กับข้อมูลในชั้น 2 เรียกว่าบริดจ์ โดยใช้ layer 2 addresses (เช่น MAC addresses on Ethernet) ในการส่งต่อข้อมูล.นอกเหนือไปจากหน้าที่การตัดสินใจในการส่งต่อแล้ว เราเตอร์ยังต้องบริหารจัดการความแออัดเมื่อแพ็คเกตมาถึงในอัตราที่สูงกว่าที่เราเตอร์สามารถประมวลผลได้ สามนโยบายที่ใช้กันทั่วไปในอินเทอร์เน็ตได้แก่ tail drop, random early detection (RED), and weighted random early detection (WRED) tail drop ธรรมดาที่สุดและดำเนินการง่ายที่สุด; เราเตอร์เพียงแต่ตัดทิ้งแพ็คเก็ตถ้าความยาวของคิวเกินขนาดของบัฟเฟอร์ในเราเตอร์ RED จะดูความเป็นไปได้ทางสถิติเพื่อตัดทิ้งดาต้าแกรมล่วงหน้าเมื่อคิวมากเกินกว่า buffer ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า จนกระทั่งถึงจุดสูงสุดที่กำหนดไว้มันจะกลายเป็น tail drop. WRED ต้องใช้น้ำหนักของขนาดคิวเฉลี่ยเพื่อจะกระทำการใดๆเมื่อการจราจรกำลังจะเกินขนาดที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อที่ว่า short bursts จะไม่เรียกการ random drops มาใช้

ฟังก์ชันอื่นที่เราเตอร์จะดำเนินการก็คือการที่จะตัดสินใจว่าแพ็คเก็ตไหนควรจะดำเนินการก่อนเมื่อมีหลายคิว งานนี้จะจัดการผ่าน QoSซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเมื่อ Voice over IP มีการนำมาใช้ เพื่อให้ความล่าช้าระหว่างแพ็กเกตมีไม่เกิน 150ms เพื่อรักษาคุณภาพของการสนทนาเสียงยังมีฟังก์ชันอื่นที่เราเตอร์ดำเนินการที่เรียกว่าการเราติ้งตามนโยบาย ที่ซึ่งกฎพิเศษถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้แทนที่กฎที่ได้มาจากตารางเส้นทาง เมื่อทำการตัดสินใจส่งต่อแพ็คเกตฟังก์ชันเหล่านี้อาจจะดำเนินการผ่านเส้นทางภายในเดียวกันกับที่แพ็คเกตเดินทางในเราเตอร์ บางส่วนของฟังก์ชันอาจจะดำเนินการผ่าน application-specific integrated circuit (ASIC) เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดย CPU ต้องทำงานหลายรอบ และฟังชั่นอื่น ๆ อาจจะต้องมีการดำเนินการผ่าน CPU เพราะแพ็กเก็ตเหล่านี้ต้องการความสนใจเป็นพิเศษที่ไม่สามารถจัดการได้โดย ASIC

Router อยู่ใน Layer ที่ 3 คือ Layer Network


ที่มาของข้อมูล : http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/router/



เกตเวย์ (Gateway)

Gateway


    Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway
ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch]




ที่มาของรูปภาพ : http://mychosting.com/mhen15.html


Gateway เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) Gateway ประตูสื่อสาร ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่เครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "บริดจ์" (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำให้การแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ นอกจากในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะ ไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มีไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง
Gateway จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถมากที่สุดคือสามารถเครือข่ายต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยสามารถเชื่อมต่อ LAN ที่มีหลายๆโปรโตคอลเข้าด้วยกันได้ และยังสามารถใช้สายส่งที่ต่างชนิดกัน ตัวgateway จะสามารถสร้างตาราง ซึ่งสารารถบอกได้ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไหนอยู่ภายใต้ gatewayตัวใดและจะสามารถปรับปรุงข้อมูลตามเวลาที่ตั้งเอาไว้
Gateway เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch
Gateway เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูล หน้าที่หลักของเกตเวย์คือช่วยทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์2 เครือข่ายหรือมากกว่าที่มีลักษณะไม่เหมือนกัน คือลักษณะของการเชื่อมต่อ( Connectivity ) ของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และมีโปรโตคอลสำหรับการส่ง - รับ ข้อมูลต่างกัน เช่น LAN เครือหนึ่งเป็นแบบ Ethernet และใช้โปรโตคอลแบบอะซิงโครนัสส่วน LAN อีกเครือข่ายหนึ่งเป็นแบบ Token Ring และใช้โปรโตคอลแบบซิงโครนัสเพื่อให้สามารถติดต่อกันได้เสมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน เพื่อจำกัดวงให้แคบลงมา เกตเวย์โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือส่ง - รับข้อมูลกันระหว่างLAN 2เครือข่ายหรือLANกับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือระหว่าง LANกับ WANโดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะเช่น X.25แพ็คเกจสวิตซ์ เครือข่าย ISDN เทเล็กซ์ หรือเครือข่ายทางไกลอื่น ๆ




คือระบบเกตเวย์ที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือทั่วๆไป แต่เกตเวย์ส่วนใหญ่ที่เกิดเช่นนี้นี้เป็นเกตเวย์สำหรับเชื่อมต่อระหว่างประเทศ และมีไว้เพื่อคัดกรอง และจัดระบบระยะทางการเชื่อมต่อให้ดีขึ้น ถ้าขาดเกตเวย์แล้ว ระบบก็ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ ส่วนสาเหตุที่เกตเวย์นั้น เกิดเกตเวย์ทามเอาท์ ก็เพราะว่า ระบบมีปัญหาคือระบบ ภายในที่ศูนย์นั้น มีปัญหา แต่คงไม่นานมากนักที่จะมีปัญหายาวนาน ส่วนเรื่องของอื่นๆก็อาจมีผลต่อเกตเวย์ก็เป็นได้เช่น ไฟฟ้าขัดข้อง ระบบสายไฟเบอร์มีปัญหา หรืออื่นๆ เป็นต้นส่วนถ้าเกตเวย์ เกิดแค่บางส่วน ก็คงจะเกิดที่ของสาขาแต่ละส่วน ซึ่งทุกๆสาขาของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตที่ใช้นั้น ต้องมีเกตเวย์ไว้เช่นกัน ถ้าหากไม่มี ก็จะทำให้ระบบ ไม่สะดวกในการให้บริการเน็ต




การใช้ internet ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนำไปสู่การแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ทั่วโลก และ โลกส่วนใหญ่ใช้เวลาทำงานเป็น "internet time" การกด mouse แต่ละครั้งอาจทำให้ ไวรัสกระจายได้ทั่วโลกในไม่กี่ชม.ไม่ก็เร็วกว่านั้นลองพิจารณา polymorphic virus ที่ชื่อ Hare.7610 ซึ่งมีต้นกำเนิดใน New Zealand ยังสามารถกระจายไปใน South Africa และ Canada ได้ภายใน 6 วันนับจากวันที่มันแพร่ไปบน internet หรือที่เรียกว่า "into the wild" ในเดือนมิถุนายน ปี1996ลองพิจารณา macro virus ปิศาจร้ายแพร่พันธุ์เร็วของ internet Macro virus แพร่เชื้อได้ใน แฟ้มเอกสาร,spreadsheet และ templates ที่สร้างโดย Microsoft Word และ Microsoft Excel ตามที่ Symantec Antivirus Research Center (SARC) ,macro virus กลายเป็นไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แพร่หลายมากที่สุดเนื่องจากการปรากฏตัวของมันครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี1995 ลามเหมือนไฟป่าเมื่อเอกสารร่วมที่ติดเชื้อถูกใช้ หรือแจกจ่ายในรูป attachments ในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ปัญหาของ macro virus แย่เพียงใด? 23 เปอร์เซนต์ของไวรัสที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็น Email account ตามการศึกษาของ NCSA(the National Computer Security Association) ในปี 1996 เมื่อเทียบกับ file download ซึ่งมี 11 เปอร์เซ็นต์ในความเป็นจริง มันยากที่จะหาเครือข่ายองค์กรที่ไม่ได้ถูกโจมตี 98 เปอร์เซนต์ที่เห็นได้ชัดขององค์กรที่เคยประสบปัญหาไวรัสระหว่างช่วง 14 เดือนในปี 1996 ที่ NCSA ได้ทำการศึกษา และในปัจจุบันมีการติดเชื้อไวรัสมากกว่าถึง 10 เท่าในหนึ่งปีที่ผ่านมาแต่ละการโจมตีของไวรัสในองค์กรต่างๆ ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายถึง 8,106 ดอลลาร์สหรัฐ ตามการศึกษาของ NCSA มากไปกว่านั้นมูลค่าส่วนใหญ่อยู่ที่เวลาทั้งหมดที่ใช้ในการฟื้นคืนระบบจากสถานการณ์ที่เกิดโดยไวรัส ซึ่งมากกว่า 44 ชั่วโมงอย่างน้อย การใช้ Internet ที่เพิ่มมากขึ้นได้เปลี่ยนความต้องการของการป้องกันไวรัส Intranet หรือเครือข่ายระดับองค์กรที่ใช้เทคโนโลยี internet ก็ได้เปลี่ยนแปลงในทำนองเดียวกัน




Antivirus-Gateway เป็นบริการตรวจสอบ ค้นหา ป้องกัน และ กำจัด ไวรัส ที่ติดมากับ Email ต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น Email ขาออก หรือ Email ขาเข้า โดยปกติแล้วใน องค์กรหนึ่ง ๆ นั้น จะมีการติดตั้ง โปรแกรม Antivirus ให้กับเครื่องของผู้ใช้งาน (Client) ในทุก ๆ เครื่อง เพื่อป้องกัน ไวรัส ที่อาจจะมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ใช้งานลืม Update Antivirus ก็จะทำให้ ไวรัส สามารถแพร่กระจาย ไปในองค์กร ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ไวรัสที่ติดมากับ Email ต่าง ๆ แต่ระบบ Antivirus-Gateway นั้น เปรียบเสมือนด่านหน้า ที่คอยตรวจสอบ ค้นหา ป้องกัน และ กำจัดไวรัส ต่าง ๆ ที่จะผ่านเข้ามา ในองค์กรของเรา ทำให้ Email ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Antivirus-Gateway แล้วนั้นปลอดภัย ถึงแม้ว่า ผู้ใช้ในองค์กร จะลืมทำการ โปรแกรม Update Antivirus ก็ไม่ต้องกังวล เรื่องความปลอดภัย ของอีเมล์ที่เข้ามาอีกต่อไป




การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อโดยตรง

การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา
2. การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ

ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้
2.1 การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services)
เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้
2.2 การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services)

บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต




เกตเวย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. เกตเวย์แบบอะซิงโครนัส
ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนรูปแบบข้อมูลของเครือข่าย LAN ให้เป็นแบบอะซิงโครนัสก่อนส่งออกไปสู่สายสื่อสารเพื่อติดต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ภายนอกเครือข่าย และทำหน้าที่รับข้อมูลจากอุปกรณ์อะซิงโครนัส เช่นโมเด็มแบบอะซิงโครนัสเพื่อเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลมาเป็นแบบที่ใช้อยู่ในเครือข่ายLAN เกต์เวย์แบบอะซิงโครนัส เช่นX.25เกตเวย์ , T-1 เกตเวย์และเกตเวย์ที่รวมโมเด็มอะซิงโครนัสอยู่เครื่องเดียวกัน

2. เกตเวย์แบบซิงโครนัส
ทำหน้าที่ในการช่วยให้ผู้ใช้(User)ภายในเครือข่าย LAN สามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์เมนเฟรมภายนอกเครือข่ายโดยผ่านโมเด็มแบบซิงโครนัส หรืออาจจะต่อเข้าเองโดยตรง หรือผ่านระบบสื่อสารอื่นๆ เกตเวย์แบบซิงโครนัสคือเกต์เวย์ SNA(System Network Architecture) และเกตเวย์แบบ RJE (RemoteJobEntry) เกตเวย์ซิงโครนัสมีส่วนประกอบหลั 2 ส่วนคือส่วนที่ทำหน้าที่เป็น อีมูเลเตอร์เพื่อให้เครื่อง PC ในเครือข่ายทำงาน"เสมือน" เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมภายนอกเครือข่าย และอีกส่วนหนึ่งจะทำหน้าที่เป็น ฟรอนต์ - เอ็นโปรเซสเซอร์ โดยจะสนับสนุนโปรโตคอลแบบซิงโครนัส เช่น BISYN(Binary SynchronousCommunication)หรือ SDLC(Synchronous Data Link Control) มาตรฐานระหว่างประเทศกำหนดขึ้นเพื่อให้ระบบเป็นกลางเพื่อแลกเปลี่ยน E - mail ภายใต้มาตรฐาน X.400

Gateway อยู่ใน Layer physical เป็น อุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุดในการเชื่อมต่อเครือข่าย โดยสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็น Firewall เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายเข้ามาเชื่อมต่อลักลอบนำข้อมูลภายในองค์กรออกไปได้



ที่มาของข้อมูล : http://tay1loveza.blogspot.com/2011/08/gateway.html

คอนเวอร์เตอร์ (Converter)

คอนเวอร์เตอร์ (ชั้น Presentation Layer )




คอนเวอร์เตอร์ (Converter) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนโพรโทคอลให้โดยอัตโนมัติ ซึ่ง โพรโทคอล (Protocol) คือกฎระเบียบสำหรับ

การสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายผู้ส่งและผู้รับข้อมูลจำเป็นจะต้องใช้โพรโทคอลแบบเดียวกันจึงจะสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

หลักการทำงานของคอนเวอร์เตอร์
คอนเวอร์เตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนโพรโทคอลในระบบเครือข่าย โดยโหนดแต่ละโหนดในระบบเครือข่ายเดียวกันอาจมีโพรโทคอลหลายอย่างใช้งานอยู่ในเวลาเดียวกันก็ได้ เนื่องจากในระบบเครือข่ายหนึ่ง ๆ ไม่มีข้อบังคับให้ต้องใช้โพรโทคอลแบบเดียวกันทั้งหมด ในกรณีที่ผู้ส่งและ ผู้รับข้อมูลใช้โพรโทคอลแตกต่างกันก็จะมีการเปลี่ยนโพรโทคอลให้เหมือนกันเสียก่อน การสื่อสารจึงจะดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งทำงานคล้ายกับล่ามที่รับฟังคำพูดในภาษาหนึ่งจากผู้พูด แล้วตัวล่ามจะแปลคำพูดนั้นไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ซึ่งเป็นภาษาที่ผู้ฟังเข้าใจ ทำให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังสามารถสนทนากันได้

การเปลี่ยนโพรโทคอลยังมีความหมายรวมไปถึงการสื่อสาร ซึ่งใช้ข้อมูลที่มีรหัสแทน ข้อมูลแตกต่างกันด้วย เช่น ในเครื่องพีซีส่วนใหญ่จะใช้รหัสแทนข้อมูลแบบแอสกี (ASCII) ในขณะที่เครื่องเมนเฟรมไอบีเอ็มส่วนใหญ่ใช้รหัสเอ็บซีดิก (EBCDIC) การสื่อสารระหว่างเครื่องทั้งสองชนิดนี้จึงต้องมีการเปลี่ยนรหัสแทนข้อมูลจึงจะสามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งคอนเวอร์เตอร์ก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี

ที่มา http://img.tarad.com/shop/o/one2solution/img-lib/spd_20130822151042_b.jpg
http://data-communication2009.blogspot.com/2009/12/3.html



ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (FEP)

ฟร้อนท์เอนด์โปรเซสเซอร์ (ชั้น Presentation Layer )



     ฟร้อนท์-เอ็นด์โปรเซสเซอร์ หรือ FEP เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ของเครือข่ายการสื่อสารข้อมูล (ได้แก่ มัลติเพล็กเซอร์ โมเด็ม และอื่น ๆ ) มินิคอมพิวเตอร์บางเครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์ช่วยในการเชื่อมต่อการสื่อสาร
    ฟร้อนท์-เอ็นด์โปรเซสเซอร์จะเชื่อมต่อโดยตรงกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ โดยผ่านช่องทางข้อมูลอัตราเร็วสูงในเครือข่ายขนาดใหญ่ ช่องทางดังกล่าวอาจจะใช้สายไฟเบอร์ออปติก ส่วนอีกด้านหนึ่งของฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์ก็ต่อเข้ากับมัลติเพล็กซ์เซอร์ หรือโมเด็ม หรือต่อเข้าโดยตรงกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพอร์ตต่อพอร์ต เพราะว่าฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์เป็นคอมพิวเตอร์
    ดังนั้นจึงต้องมีฮาร์ดแวร์ หน่วยความจำ และซอฟต์แวร์ (โปรแกรม) เป็นของตัวเอง จำนวนของอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับพอร์ตของฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์อาจจะมีได้มากถึง 64 หรือ 128 หรือ 256 อุปกรณ์ต่อฟรอนต์-เอ็นโปรเซสเซอร์ 1 เครื่อง อย่างไรก็ตามเรายังต้องคำนึงเวลาในการตอบสนองให้ทันต่อการใช้งาน ซึ่งจะทำให้เราต้องลดจำนวนอุปกรณ์ลงมา และยังขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำอีกด้วย





หน้าที่โดยหลัก ๆ ของฟร้อนท์-เอ็นด์โปรเซสเซอร์ มีดังนี้

1. แก้ไขข่าวสาร : ด้วยการจัดเส้นทางข่าวสาร อัดขนาดข้อมูล และแก้ไขข้อมูล

2. เก็บกักข่าวสาร : เป็นการเก็บกักข่าวสารข้อมูลไว้ชั่วคราว เพื่อจัดระเบียบการเข้า-ออกของข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังของสายและผู้ใช้

3. เปลี่ยนรหัส : เปลี่ยนอักขระและข่าวสารจากรหัสหนึ่งไปเป็นอีกรหัสหนึ่ง หรือระหว่างโปรโตคอลหนึ่งไปเป็นอีกโปรโตคอลหนึ่ง

4. รวบรวมหรือกระจายอักขระ : จากบิตเป็นอักขระหรือจากอักขระเป็นบิต สำหรับการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและซิงโครนัส

5. ควบคุมอัตราเร็ว : ควบคุมอัตราเร็วการส่ง-รับข้อมูลของสายส่งข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ให้สัมพันธ์กัน

6. จัดคิว : ควบคุมคิวการเข้า-ออกของข้อมูลคอมพิวเตอร์หลัก

7. ตรวจจับและควบคุมความผิดพลาด : เพื่อร้องขอให้มีการส่งข้อมูลมาใหม่ เมื่อตรวจจับได้ว่ามีความผิดพลาดในการส่งข้อมูลเกิดขึ้น

8. อีมูเลต : เป็นการเลียนแบบซอฟต์แวร์ของฮาร์ดแวร์อันหนึ่งให้ "ดูเสมือน" กับซอฟต์แวร์ของฮาร์ดอื่น ๆ ในเครือข่ายในเครือข่าย ฯลฯ

คอนเซนเทรเตอร์ (Concentrator)


คอนเซนเทรเตอร์ (ชั้น Transport layer)



          คอนเซนเทรเตอร์ (Concentrator) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยประมวลผลทางการสื่อสาร (Communications Processor) โดยมากจะเป็นคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เฉพาะ ส่วนใหญ่จะมีหน่วยความจำสำรองพ่วงติดอยู่กับคอนเซนเทรเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่รวมข้อมูลที่ส่งเข้ามาด้วยความเร็วต่ำจากนั้นจะนำข้อมูลที่รวม กันแล้วส่งผ่านสายส่งความเร็วสูงไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกต่อหนึ่ง

หลักการทำงานของคอนเซนเทรเตอร์
คอนเซนเทรเตอร์เป็นอุปกรณ์อีก ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่คล้ายกับมักซ์ คือ รวมสัญญาณจากสายสื่อสารหลายเส้นเข้าด้วยกันเพื่อส่งออกทางสายสื่อสารเพียง เส้นเดียว แต่ก็มีความต่างกันในรายละเอียดและวิธีนำมาใช้งาน มักซ์จำเป็นต้องใช้งานเป็นคู่เสมอในขณะที่คอนเซนเทรเตอร์ใช้เพียงเครื่อง เดียวและยังมีขีดความสามารถในการประมวลผลและเก็บข้อมูลได้ด้วย







มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer)


มัลติเพล็กเซอร์ (ชั้น Transport layer)

         มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer : MUX) การทำงานของมัลติเพล็กเซอร์ จะรับสัญญาณข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลจากแหล่งต้นทางต่างๆ ซึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปยังปลายทางในที่ต่างๆกัน ดังนั้นสัญญาณข้อมูลต่างๆเมื่อผ่านมัลติเพล็กซ์เซอร์ มัลติเพล็กซ์เซอร์ก็จะเรียงรวม(มัลติเพล็กซ์)กันอยู่ในสายส่งข้อมูลเพียงสายเดียว และเมื่อสัญญาณข้อมูลทั้งหมดมา ถึงเครื่องมัลติเพล็กซ์เซอร์ชึ่งเรียกว่า อุปกรณ์ดีมัลติเพล็กซ์เซอร์อีกเครื่องหนึ่งทางปลายทาง สัญญาณทั้งหมดก็จะถูกแยก (ดีมัลติเพล็กซ์) ออกจากกันไปตามเครื่องรับปลายทางของแต่ละช่องทางสายส่งข้อมูลที่ใช้ในการส่งข้อมูลจะต้องมีความจุสูง จึงจะสามารถรองรับปริมาณข้อมูลจำนวนมากที่ถูกส่งผ่านมาพร้อมๆกันได้ สายส่งข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ สายโคเอก สายไฟเบอร์ออปติก คลื่นไมโครเวฟ และคลื่นดาวเทียม




วิธีการรวมช่องทางการสื่อสารข้อมูล หรือการมัลติเพล็กซ์ที่จะกล่าวถึงในที่นี้มีอยู่ 3 วิธีคือ
  1. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามความถี่ (Frequency Division Multiplexing) หรือ FDM ซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดโดยเฉพาะด้านวิทยุและโทรทัศน์ 
  2. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามเวลา (Time Division Multiplexing) หรือ TDM ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อของซิงโครนัส TDM (Synchronous TDM) ส่วนใหญ่จะใช้ในการมัลติเพล็กซ์สัญญาณเสียงดิจิตอล เช่น แผ่นเพลง CD 
  3. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งตามเวลาด้วยสถิติ (Statistical Time Division Multiplexing) หรือ STDM ซึ่งมี่ชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อะซิงโครนัส TDM (Asynchronous TDM) หรืออินเทลลิเจนท์ TDM(Intelligent TDM) ในที่นี้เราจะใช้ชื่อเรียกสั้นๆว่า STDMสำหรับ STDM เป็นวิธีการมัลติเพล็กซ์ที่ปรับปรุงการทำงานมาจากวิธีซิงโครนัส TDMให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นเพื่อรองรับจำนวนช่องทางให้ได้มากขึ้น