วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

สมาชิกกลุ่ม


Angel's Team

(Information Technology)


งานกลุ่ม บทที่2 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล


รายชื่อสมาชิก Sec.04


1) นาย  จารุเวศ  ปาต๊ะ                    รหัสนักศึกษา 58143402
2)  นาย ทิวากร ชิวปรีชา                  รหัสนักศึกษา 58143403
3) นางสาว  อนงค์ลักษณ์ วงค์อ้าย  รหัสนักศึกษา 58143414
4) นางสาว  จุฑามาศ   ไชยวงศ์      รหัสนักศึกษา 58143416
5) นางสาว เมทิกา   มีบุญ               รหัสนักศึกษา 58143424
6) นาย  ศิวดล   เตปิน                     รหัสนักศึกษา 58143427

นำเสนอ
อาจาร์ย ดร.ภัทราพร  พรหมคำตัน

รายวิชา การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่




อุปกรณ์อื่นๆ (other)

อุปกรณ์อื่นๆ



\
1.PCI คืออะไรPCI ย่อมาจาก Peripheral Component Interconnection คือช่องเสียบอุปกรณ์ ต่าง ๆ อาทิ การ์ดเสียง การ์ด Network โมเด็มแบบ Internal แม้กระทั่งการ์จอ เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานควบคู่ไปกับซีพียูได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง PCI มีความสามารถที่จะส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง โดยมีแบนด์วิดท์ (Band width) อยู่ที่ 32 บิต และ 64 บิต โดย PCI แบบ 64 บิตนี้เราจะเรียกว่า PCI-X โดยความเร็วในการส่งข้อมูลของ บัส 32 บิตนั้นสามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลได้ถึง 132 MB/Sec แต่ถ้าเป็นบัสขนาด 64 บิต เราจะได้ความเร็วอยู่ที่ 264MB/Sec ซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่เกี่ยวกับกราฟฟิกที่ต้องการความละเอียดสูง





ผู้ที่คิดค้นและพัฒนา PCI (Peripheral Component Interconnection) ก็คือ INTEL ซึ่งได้มีการพัฒนา PCI มาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันนี้มีการพัฒนามาแล้ว 3 รุ่นด้วยกันคือ

1. PCI 2.0 ทำงานที่ความเร็ว 30-33MHz

2. PCI 2.1 สนับสนุนการทำงานที่ความเร็ว 66MHz

3. PCI 2.2 สนับสนุน slot ได้สูงถึง 5 slot และยังรองรับ PCI card แบบ Bus Master ซึ่งเป็นการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงและหน่วยความจำโดยตรงนั่นเอง

ส่วน PCI Express ก็เป็นการพัฒนาเพิ่มเติมจาก PCI เพื่อมาทดแทนการใช้งาน AGP และ PCI BUS แบบเดิม โดยความสามารถของ PCI Express นั้นจะส่งข้อมูลได้เร็วถึง 250 MB/sec และความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ PCI Express ก็คือการส่งข้อมูลแบบ 2 ทางพร้อมกัน (Full-Duplex)สูงถึง 500 MB/sec ซึ่งจะแตกต่างจากการส่งของ PCI แบบเดิมที่จะส่งข้อมูลเพียงทางเดียวเท่านั้น

ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/pci/



2.การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbpsซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน






ที่มา https://sites.google.com/site/chatwimol41023/home/kard-kherux-khay-network-adapter-hrux-kard-lan



3. HDMI คืออะไร

HDMI เป็นระบบการเชื่อมต่อ (สายสัญญาณและช่องต่อ) ภาพและเสียงแบบใหม่ครับ ย่อมาจากคำว่า

High Definition Multimedia Interface โดย HDMI จะเชื่อมต่อทั้งสัญญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอลไว้ในสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ไม่ต้องต่อหลายสายหลายเส้นให้ยุ่งยาก ให้ความคมชัดของภาพ มีความละเอียด และให้เสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทุกวันนี้ HDMI ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายกับ พลาสม่าทีวี แอลซีดีทีวี TrueVisions HD Home Theatre เครื่องเล่นดีวีดี ฯลฯ

แล้ว HDMI มันดีกว่าสายประเภทอื่นๆอย่างไร??? ง่ายๆเลยนะครับ ผมจะเรียงลำดับคุณภาพของสายสัญญาณจากคุณภาพ ต่ำไปหา สูง ดังนี้ครับ

1. สาย RF ที่ต่อจากสายอากาศทีวีบ้านธรรมดานี่แหละครับ ส่งสัญญาณภาพและเสียง

2. สาย Composite หรือ ที่เราเรียกว่าสาย AV นั้นเอง(ไอ้ขาวเหลือแดงนี่แหละครับ) ดีกว่า RF ขึ้นมาหน่อย คือแยกสัญญาณภาพเป็นหนึ่งสาย (เหลือง) และสัญญาณเสียงสองสาย (ขาว แดง) ช่วงวิดีโอ บูมๆ สายขาวเหลิองแดงนี่น่าจะถือว่าดีที่สุดในสมัยนั้น

3. สาย S-video จะดีกว่า AV ขาวเหลืองแดงมาอีกระดับนึงเนื่องจากจะสามารถแยกสัญญาณ สี และ แสง ได้

4. สาย Component เกิดขึ้นมาในยุคดีวีดีฟีเวอร์ครับ มีสามสายครับ เป็นสายสัญญาณแยกสี RGB (แดง เขียว ฟ้า) ซึ่งให้ความคมชัดในระดับสูงมาก โดยเฉพาะเรื่องสีสัน สายแพงๆ นี่หลายพันเลย




5.ส่วนสายที่จัดได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในปัจจุบันก็คือคือสาย HDMI จะเชื่อมต่อทั้งสัญญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอลแบบไว้ในสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ที่กล่าวถึงมาข้างต้นนี่เอง


ที่มา http://www.newsatellitethailand.in.th/webboard_1336882_44043_th?lang=th
4. BLUETOOTH คือ ระบบสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคแบบสองทาง ด้วยคลื่นวิทยุระยะสั้น (Short-Range Radio Links) โดยปราศจากการใช้สายเคเบิ้ล หรือ สายสัญญาณเชื่อมต่อ และไม่จำเป็นจะต้องใช้การเดินทางแบบเส้นตรงเหมือนกับอินฟราเรด ซึ่งถือว่าเพิ่มความสะดวกมากกว่าการเชื่อมต่อแบบอินฟราเรด ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างโทรศัพท์มือถือ กับอุปกรณ์ ในโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นก่อนๆ และในการวิจัย ไม่ได้มุ่งเฉพาะการส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว แต่ยังศึกษาถึงการส่งข้อมูลที่เป็นเสียง เพื่อใช้สำหรับ Headset บนโทรศัพท์มือถือด้วยเทคโนโลยี บลูทูธ เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบไร้สายที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน ทั้งในเรื่องความสะดวกในการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป และประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจาก เทคโนโลยี บลูทูธ มีราคาถูก ใช้พลังงานน้อย และใช้เทคโนโลยี short – range ซึ่งในอนาคต จะถูกนำมาใช้ในการพัฒนา เพื่อนำไปสู่การแทนที่อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สาย เคเบิล เช่น Headset สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ฺิิิ เทคโนโลยีการเชื่อมโยงหรือการสื่อสารแบบใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้น เป็นเทคโนโลยีของอินเตอร์เฟซทางคลื่นวิทยุ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสื่อสารระยะใกล้ที่ปลอดภัยผ่านช่องสัญญาณความถี่ 2.4 Ghz โดยที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดของการใช้สายเคเบิลในการเชื่อมโยงโดยมีความเร็วในการเชื่อมโยงสูงสุดที่ 1 mbp ระยะครอบคลุม 10 เมตร เทคโนโลยีการส่งคลื่นวิทยุของบลูทูธจะใช้การกระโดดเปลี่ยนความถี่ (Frequency hop) เพราะว่าเทคโนโลยีนี้เหมาะที่จะใช้กับการส่งคลื่นวิทยุที่มีกำลังส่งต่ำและราคาถูก โดยจะแบ่งออกเป็นหลายช่องความถึ่ขนาดเล็ก ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนช่องความถึ่ที่ไม่แน่นอนทำให้สามารถหลีกหนีสัญญานรบกวนที่เข้ามาแทรกแซงได้ ซึ่งอุปกรณ์ที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีบลูทูธ ต้องผ่านการทดสอบจาก Bluetooth SIG (Special Interest Group) เสียก่อนเพื่อยืนยันว่ามันสามารถที่จะทำงานร่วมกับอุปกรณ์บลูทูธตัวอื่นๆ และอินเตอร์เน็ตได้



ที่มา https://sites.google.com/site/kruchatchawalthoen/blu-thuth-khux-xari

5.แอร์คาร์ด (AirCard) คือ อุปกรณ์โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop หรือ Labtop) ของเราเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายความเร็วสูงโดยผ่านโครงข่ายสัญญาณ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งในขณะที่เราเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตไปแล้วยังสามารถใช้โทรศัพท์ โทร.เข้า-ออกได้ในเวลาเดียวกัน เพราะระบบมีการใช้ช่องสัญญาณคนละช่องสัญญาณกัน แต่ใช้ Cellsite เดียวกัน หรือทำหน้าที่เป็นแฟ็กซ์ไร้สายได้ด้วย ดังนั้นไม่ว่าเราจะนั่งรถ ลงเรือ หรืออยู่ที่ไหนขอมีเพียงสัญญาณโทรศัพท์มือถือก็ใช้งานได้ทั้งนั้น

ความแตกต่างระหว่าง AirCard กับ ระบบ Wi-Fi

Wi-Fi คือคุณสมบัติอันหนึ่งที่ทำให้เราเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตใดๆ ก็ได้แบบไร้สาย (Wireless LAN) ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตรจากตัวแม่ข่ายของ Wi-Fiนั้นๆ หากไม่มีตัวแม่ข่ายการสื่อสารข้อมูลก็จะทำไม่ได้

AirCard คือ โมเด็มอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่โลกอินเทอร์ เน็ตแบบไร้สาย โดยใช้สัญญาณโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีการเชื่อมสัญญาณเข้ากับ Cellsite ของเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ทำให้เล่นเน็ตที่ไหนก็ได้ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

ที่มา http://smartcompz.blogspot.com/2011/04/blog-post_2763.html


6. PDA คืออะไร

PDA ย่อมาจาก Personal Digital Assistant คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการจดบันทึก , เก็บข้อมูล , เตือนเวลานัดหมาย หรือ จัดการงานต่างๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว รวมไปถึงความสามารถของการเพิ่มเติมแอพพลิเคชั่น เพื่อให้ใช้งานด้านอื่นๆได้ สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเลยทีเดียว เช่น การทำ เอกสาร Word, Excel หรือแม้กระทั่งการใช้งานอินเตอร์เน็ต (Internet ) ในการเล่นเว็บ หรือการรับ-ส่ง E-Mail และอีกอย่างที่สำคัญคือสามารถทำงานด้านมัลติมีเดีย เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ได้อีกด้วย

PDA นั้นสามารถแยกออกมาได้อีกหลายประเภท ตามลักษณะของการใช้งานและระบบปฏิบัติการที่ถูกติดตั้งอยู่ในเครื่อง PDA นั้นๆ ซึ่งหลักๆที่เรารู้จักกันก็จะมี PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Palm OS หรือที่เรียกว่า Palm และ PDA ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Mobile หรือที่เรียกกันว่า Pocket PC นั่นเอง นอกจากนี้แล้ว ยังมี PDA phone ซึ่งเป็น PDA ที่สามารถใช้งานเป็นโทรศัพท์ได้ด้วย

สวิตซ์ (Switch)


สวิตซ์ (Switch)


     สวิตซ์เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาการต่อจากฮับอีกทีหนึ่งมีความสามารถมากกว่า Hub โดยการทำงานของสวิตซ์จะส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีปลายทางเท่านั้น ไม่ส่งกระจายข้อมูลไปยังทุกพอร์ตเหมือนอย่างฮับ ทำให้ในสวิตซ์ไม่มีปัญหาการชนของข้อมูล สวิตซ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link Layer คือจะรับผิดชอบในการเชื่อมโยงของข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของการติดต่อจากโหนดหนึ่งไปอีกโหนดหนึ่งและความสมบูรณ์ของการรับส่งข้อมูล สำหรับในชั้นเชื่อมโยงข้อมูลนั่นจะทำการแบ่งข้อมูลระดับบิตที่ได้รับจากชั้น Physical Layer เป็นข้อมูลชนิดที่เรียกว่า เฟรม ก่อนจะส่งไปยังชั้นถัดไป ก็คือ Network Layer

หลักการทำงานของ Switch

หลักการทำงานของ Switch เหมือนการทำงานขอ Hub เพียงแต่ว่าทำงานได้เร็วกว่าและยังมีจำนวนพอร์ตที่มากกว่า

Hub กับ SWITCH แตกต่างกันอย่างไร HUB กับ SWITCH นั้นจะทำหน้าที่คล้าย กันเพียงแต่ HUB นั้นเวลาส่งข้อมูลนั้นจะเป็นแบบ broadcast กระจายไปทุกเครื่องแต่ถ้าเป็น switch นั้น จะดูว่าข้อมูลนี่เป็น ของเครื่องไหนแล้วค่อยส่งไปยังเครื่องนั้น ดังนั้นHUB จึงสามารถ LAN ได้มากกว่านอกจากนี้ความเร็วในการส่งข้อมูลก็ต่างกันคือ speed HUB คือspeed / N เครื่องเช่น LAN 100 Mbps 10 เครื่อง ทุกเครื่องได้แค่ 10 Mpbsส่วน speed switch นั้น Lan 100 mpbs ทุกเครื่องได้ 100 mbps




รูปแสดงลักษณะของ Switch ยี่ห้อ 3COM


ที่มา https://yyweb123.wordpress.com/2011/09/03/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%8B%E0%B9%8C-switch/



ฮับ (Hub)



ฮับ(Hub)



ฮับ คือ เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เข้าด้วยกันฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย เรียกว่าฮับตกกระป๋อ โดยทั่วไปจะมีลักษณเหมือนกล่องสีเหลี่ยมแต่แบน มีความสูงประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วแต่รุ่น มีช่องเล็กๆ เอาไว้เสียบสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์ มีหลายรุ่น เช่น Hub 4 Ports, 8 Ports, 16 Ports, 24 Ports หรือ 48 Ports เป็นต้น หน้าตารูปร่างของฮับจะเหมือนกัน Switch ดังนั้นการเลือกซือต้องระวังให้ดี

ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ

• ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS

• ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS

• บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS

MBPS ย่อมาจาก MegaBit Per Second (เมกกะบิตต่อวินาที)

hub นั้นทำงานในระดับ layer 1 ซึ่งเป็น layer เกี่ยวข้องกับ เรื่องของการส่งสัญญาณออกไปสู่ media หรือ สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องของการเข้ารหัสสัญญาณเพื่อที่จะส่งออกไปเป็นค่าต่างๆในทางไฟฟ้า



แอ็คเซสพอยต์ (AP)



แอ็คเซสพอยต์ (ชั้น Physical Layer)




     Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ

- ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
- ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
- ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน



ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP
โหมดการทำงานของ Access Point (AP)


โมเด็ม (modem)


โมเด็ม (ชั้น Physical Layer)


       โมเด็ม (อังกฤษ: modem ย่อมาจากคำว่า modulate and demodulate) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กล้ำสัญญาณ หรือปรับเปลี่ยนลักษณะสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆอย่างของรูปสัญญาณคลื่นพาห์(สัญญาณที่เป็นตัวขนส่งความถี่สูง)ด้วยสัญญาณข้อมูลที่จะถูกส่งผ่าน เช่น กระแสบิตดิจิตอล(อังกฤษ: digital bit stream)หรือสัญญาณเสียงอนาล็อก การกล้ำสัญญาณรูปคลื่นไซน์จะแปลงสัญญาณข้อความ baseband เป็นสัญญาณ passband และแปลงกลับในทิศทางตรงข้าม จุดประสงค์ของโมเด็มคือการสร้างสัญญาณที่ง่ายต่อการส่งข้อมูล และง่ายต่อการประมวลผล

     อุปกรณ์หลายชนิดสามารถถือว่าเป็นโมเด็มได้ แต่โมเด็มประเภทที่แพร่หลายที่สุดคือโมเด็มที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัลและสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ซึ่งใช้ในการสื่อสารโทรคมนาคมหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่นเปลี่ยนสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้เป็นสัญญาณเสียงที่ส่งผ่านในสายโทรศัพท์แบบดั้งเดิม และทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงกลับมาเป็นข้อมูลดิจิทัลในอีกด้านหนึ่งของผู้รับสัญญาณลูกข่ายหรือส่งจากลูกข่ายกลับไปยังแม่ข่าย

    ปัจจุบันมีโมเด็มชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย เช่น เคเบิลโมเด็ม, ADSL โมเด็ม, โมเด็มที่ใช้รับสัญญาณไมโครเวฟ เป็นต้น




ที่มาข้อมูล 

รีพีตเตอร์ (Repeater)


 รีพีทเตอร์


  รีพีทเตอร์สำหรับเครือข่ายวิทยุเป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยขยายเขตการติดต่อ โดยทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณอ่อนที่ส่งเข้ามาและทำการส่งออกไปด้วยกำลังที่ สูงขึ้น ระบบที่ใช้กันมากคือการส่งออกทันทีด้วยความถี่ต่างกัน(Duplex Repeater) ในระบบรีพีทเตอร์ย่าน VHF ของวิทยุสมัครเล่นนั้น ความถี่ที่รับจะใช้ความถี่ต่ำกว่าความถี่ส่งอยู่ 600 kHz (-600 kHz) แต่ในรีพีทเตอร์บางแบบจะใช้ความถี่ขาเข้าและขาออกด้วยความถี่เดียว(Simplex Repeater) กัน แต่หน่วงเวลาเพื่อรับข้อความขาเข้าจนจบแล้วจึงทำการส่งออกไป
  ระบบรีพีทเตอร์มีประโยชน์อย่างมากในการช่วยให้การติดต่อในกลุ่มนักวิทยุสมัคร เล่นทำได้ง่ายขึ้นและระยะทางไกลมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยระบบสาบอากาศประจำสถานีที่สูงมากนัก โดยเฉพาะช่วงเกิดภัยพิบัติหรือภาวะฉุกเฉินระบบรีพีทเตอร์จะมีบทบาทอย่างโดด เด่นทุกครั้ง รีพีทเตอร์บางกลุ่มในสหรัฐอเมริกาจะทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการ ติดต่อได้ตลอดเส้นทางหลวงของประเทศทั้งหมด
  การใช้รีพีทเตอร์อย่างเหมาะสมนั้นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบบริการรีพีทเตอร์มิได้ออกแบบมาให้ใช้งานแทนการติดต่อโดยตรงเหมือนระบบ Simplex (รับและส่งความถี่เดียวกัน)แต่การใช้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพนั้น การติดต่อผ่านรีพีทเตอร์ให้สั้นที่สุดเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ทำตัวเป็นผู้ยึดครองรีพีทเตอร์เพื่อใช้เฉพาะกลุ่มของตัวเองเป็นที่น่าเห็นใจว่ามิใช่ว่านักวิทยุสมัครเล่นทุกคนจะสามารถติดตั้งสายอากาศ ให้ติดต่อโดยตรงในระยะไกลได้ทั้งหมด การใช้รีพีทเตอร์สำหรับบางคนจะเป็นหนทางเดียวที่จะติดต่อกับสถานีอื่นๆได้ ถึงกระนั้นก็ต้องมีสามัญสำนึกอยู่เสมอว่ารีพีทเตอร์เป็นบริการสาธารณที่ต้อง เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้ด้วย



แหล่งที่มารูปภาพ

https://www.google.co.th/search?q=Bridge&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi2rLXop5vPAhUKp5QKHTzXDaYQ_AUICCgB&biw=1366&bih=657#tbm=isch&q=%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C&imgrc=b6v2EMLQdlssMM%3A


รีพีตเตอร์ (repeater)

เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ใน OSI Model มี หน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย เพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ ข้อจำกัด คือทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้มาเท่านั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายซึ่งอาศัยวิธีการ access ที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet กับ Token Ring และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย

รีพีตเตอร์ (repeater) เป็นอุปกรณ์ทวนสัญญาณ ( Repeater) เพื่อให้สัญญาณไฟฟ้าที่รับส่งกันในสาย Lan สามารถส่งไกลขึ้นเท่านั้น ใช้ในกรณีที่ต้องการต่อสาย Lan ให้ได้ไกลเกินกว่ามาตรฐานปกติ แต่ไม่ทำหน้าที่ช่วยจัดการจราจร Lan สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายโดยใช้สายสัญญาณต่างชนิดกันได้



แหล่งที่มาข้อมูล
https://sites.google.com/site/39srayya45sathida/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-5/ri-phit-texr-khux-xari
https://sites.google.com/site/un42509/ri-phit-texr